Welcome To www.panatdasay.blogspot.com เพื่อนๆช่วยเข้ามาติชมและแสดงความคิดเห็นกันได้นะคะ^^

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยาเสพติด อย่าคิดลอง!!


ยาเสพติด

ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น
  2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
  1. ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
  2. ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
  3. ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
  4. ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
  5. ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
  1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
  2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
  3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
  4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท คือ
  1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
  2. ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
  3. ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
  4. ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
  5. ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
  6. ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
  7. ประเภทใบกระท่อม
  8. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
  9. ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก 8 ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่
ยาเสพติดมีหลายชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่พบมากในปัจจุบัน
เฮโรอีน (Heroin)เป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีจากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิดอยู่ในรูปของผลละเอียดสีขาว เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีน ประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกกว่าฝิ่นประมาณ 30-90 เท่านมีผลของฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยกดระบบประสาททำให้อาการเจ็บปวดต่าง ๆ หายไป ประสาทรับรู้ความคิดความอ่านช้าลง ทำให้รู้สึกสบาย นอกจากนั้ยังกระตุ้นระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาหรี่ ตื่นเต้น ผู้ที่เสพมากมีผลต่อระบบหายใจหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดอาการน้ำท่วมปอด การหายใจช้าลง สุขภาพทรุดโทรม สมองเสื่อม ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงหัวใจวายเฉียบพลันและทำให้ตายได้
เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ยาบ้า เป็นอนุพันธ์หนึ่งของแอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบบสีล้ม สีน้ำตาล สีเขียว เป็นยากระตุ้นประสาท มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย มีผลทำให้มีอาการตื่นตัว ไม่ง่วงนอน ความคิดและอารมณ์แจ่มใส ทำงานได้มาก เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มือสั่น คลื่นไส้ ความดังโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น เหงื่อออกมาก อารมณ์ฉุนเฉียว ผู้ที่ติดและต้องการยา จะมีอาการปวดศรีษะ ปวดท้อง ง่วงนอน วิงเวียน อ่อนเพลียมาก ซึมเศร้า ความคิดสับสน หวาดระแวง ประสาทหลอน โดยคิดว่าจะมีคนมาทำร้ายต้องหนีไปอยู่ในที่สูง ๆ ถ้าใช้ยาเกินขนาด จะมีอาการใจสั่น ความดันโลหิตสูง หายใจไม่ออก มือสั่น หมดสติ หัวใจวาย

ยาอี เอ็กซ์ตาซี (ECSTASY) หรือเอ็มดีเอ็มเอ (MDMA) หรือยาเลิฟ (LOVE) เป็นอนุพันธ์หนึ่งของแอมเฟตามีน ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และมีฤทธิ์มากกว่าเมทแอมเฟตามีนประมาณ 10 เท่า มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ขากรรไกรสั่น ตาค้าง หวาดวิตก ประสาทหลอน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ถ้าเสพมากจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว หัวใจวาย ตายได้ เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นที่มีการศึกษาและฐานะดีจะมั่วสุมกันในหมู่งานสังสรรค์

ยาไอซ์ (ICE) หรือเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ เป็นอีกอนุพันธ์หนึ่งของแอมเฟตามีนแต่มีฤทธิ์แรงกว่าเมทแอมเฟตามีนอยู่ในรูปของเกล็ดหรือผลึกสีขาว (Crystal) มีความบริสุทธิ์สูง ใช้ละลายน้ำฉีดเข้าเส้น หรือเผาสูดควัน เป็นยาเสพติดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

แอลเอสดี (LSD) เป็นผลึกสีขาว สกัดจากกรดไลเซอจิกซึ่งเป็นราชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในข้าวไรย์ มีฤทธิ์ร้ายแรงในการหลอนประสาท มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการแปรปรวน อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมก้าวร้าว เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ประสาทหลอน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ กล้าทำในสิ่งต่างๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น ทำร้ายตนเอง กรีดท้อง และอยากฆ่าตัวตาย

ยาเค คีตามีน (KETAMINE) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เป็นยาสลบช่วยในการผ่าตัด ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทำให้มีความรู้สึกเย็นชา มึนงง ไม่ค่อยสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพและเสียง เคลิบเคลิ้มและรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ ซึ่งสร้างความสุขให้คล้ายกับอาการหลอนประสาท ถ้าเสพมากมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว การหายใจติดขัด และอาจมีอาการวิกลจริต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น